เครื่องจักรกลการเกษตร คืออะไร มีกี่ประเภท พร้อมการเลือกใช้
เครื่องจักรกลการเกษตร ( Agricultural Machinery) โลกของเกษตรกรในปัจจุบัน มีความกว้างขวางมากขึ้น กำลังการผลิต ความต้องการของตลาดมากขึ้น แต่ด้วยความไม่แน่นอนของ สภาพอากาศ และสุขภาพของเกษตรกร ทำให้ เครื่องจักรอุตสาหกรรมเข้ามามีบทบาท มากขึ้น ในการช่วยทุ่นแรงการทำงานเกษตรได้มหาศาล

หัวข้อในบทความนี้
เครื่องจักรกลการเกษตร คืออะไร
เครื่องจักรกลการเกษตร Agricultural Machinery คือ เครื่องจักรที่ใช้เพิ่มคุณภาพการทำงานของการทำเกษตร ช่วยประหยัดเงินลงทุน การจ้างแรงงาน การลดอัตราผลผลิตเสียหาย ตกหล่น รวมถึงเพิ่มโอกาสการลงทุนการเกษตรให้เพิ่มมากขึ้น อำนวยความสะดวก สบายและความแม่นยำในการผลิต
เครื่องจักรกลการเกษตร มีกี่ประเภท
เครื่องจักรกลทางการเกษตร มีอยู่ 5 ประเภทหลัก ๆ ซึ่งแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้
1. เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ใช้เตรียมดิน
เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ใช้เตรียมดิน คือเครื่องจักรที่ใช้สำหรับเตรียมหน้าดิน ตากดิน หรือเพิ่มความลึกของหน้าดิน กำจัดวัชพืช เชื้อโรคหรือไข่ศัตรูพืช มีทั้ง รถแทรกเตอร์ (Tractor) รถไถเดินตาม NC Plus X (Power Tiller) ผานบุกเบิก DP184A (Disc Plow) ผานพรวน DH226E-Pro (Disc Harrow)
ใบมีดดันดิน FD186F (Front Dozer) จอบหมุน RX165E (Rotary) ไถหัวหมู (Moldboard Plow) ควายเหล็ก (Iron Buffalo)
2. เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ใช้ปลูกพืช
เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ใช้ปลูกพืช คือเครื่องจักรที่ใช้สำหรับการปลูกพืช เช่น การหว่านเมล็ด ปลูก มีทั้ง รถดำนา เครื่องสูบน้ำ
3. เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ใช้ดูแลและบำรุงรักษาพืช
เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ใช้ดูแลและบำรุงรักษาพืช คือเครื่องจักรที่ใช้หว่าน พ่นปุ๋ย, สารเคมีกำจัดวัชพืช มีทั้ง โดรนการเกษตร เครื่องพรวนดิน เครื่องพ่นสารเคมี เครื่องพ่นปุ๋ย
4. เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ใช้เก็บเกี่ยวและนวดพืช
เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ใช้เก็บเกี่ยวและนวดพืช คือเครื่องจักรที่ใช้นวด เก็บเกี่ยว กระเทาะผลผลิต มีทั้ง รถเกี่ยวนวดข้าว เครื่องเก็บเกี่ยว เครื่องนวดข้าวแบบสายพาน
5. เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ใช้ลดความชื้นเมล็ดพืช
เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ใช้ลดความชื้นเมล็ดพืช คือเครื่องจักรที่ใช้ลดความชื้นเมล็ดพืช เพื่อเพิ่มคุณภาพ ยืดอายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ เช่น เครื่องลดความชื้นเมล็ดพืช

ประโยชน์ของการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร มีอะไรบ้าง
1. ทุ่นแรงและประหยัดแรงงาน เครื่องจักรกลทางการเกษตรสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้เกษตรกรไม่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากในการทำงาน เช่น พรวนดิน กลบ ไถหน้าดิน กำจัดวัชพืช ฯลฯ
2. เพิ่มผลผลิตและคุณภาพ เครื่องจักรกลทางการเกษตรสามารถทำงานได้แม่นยำและประณีตกว่าแรงงานคน ทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดีและได้ปริมาณมากขึ้น
3. ลดการสูญเสียผลผลิต เครื่องจักรกลทางการเกษตรสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเวลา ทำให้ลดโอกาสในการสูญเสียผลผลิตจากการเน่าเสียหรือสูญหาย เพราะการเก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคนจะเกิดการร่วงหล่นของเมล็ดพืชหรือการเหยียบย่ำผลผลิต
4. ลดต้นทุนการผลิต เครื่องจักรกลทางการเกษตรสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในหลายด้าน เช่น ค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
5. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เครื่องจักรกลทางการเกษตรสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยช่วยให้เกษตรกรสามารถทำงานได้เร็วขึ้น เช่น นวดหรือกะเทาะผลผลิต
6. ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน เครื่องจักรกลทางการเกษตรช่วยเพิ่มความปลอดภัยขณะทำงาน เพราะตัวเครื่องจักรจะมีการติดตั้งเซนเซอร์ความปลอดภัยต่าง ๆ เอาไว้ภายในเครื่อง เช่น วัดความเอียง, การเร่ง, ทิศทาง หรืออุณหภูมิ เป็นต้น
10 วิธีการดูแลรักษาเครื่องจักรกลการเกษตร
1. ทำความสะอาดรถแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลการเกษตรเป็นประจำทุกวัน ให้ปราศจากเศษวัสดุ ทางการเกษตร โคลน จาระบี คราบน้ำมันเครื่อง ซึ่งจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน ป้องกันความร้อนที่จะสะสมในเครื่อง
2. ตรวจสอบน๊อต สกรู ฝาครอบต่าง ๆ ของรถแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลการเกษตรที่จะทำให้เกิด เสียงดัง ถ้าหลุดร่วงเข้าไปยังชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนไหวแล้ว จะทำให้เกิดความเสียหายกับรถแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลการเกษตรได้
3. ทำบันทึกการบำรุงรักษารถแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลการเกษตรตามชั่วโมงการใช้งานของรถ นั้น ๆ
4. ใช้งานรถแทรกเตอร์อย่างถูกวิธี ไม่นำรถแทรกเตอร์ไปใช้งานผิดประเภทหรือใช้งานหนักเกินไป ซึ่งจะทำให้รถแทรกเตอร์เสียหายได้
5. ตรวจสอบและถ่ายฝุ่นออกจากถ้วยดักฝุ่นเครื่องกรอง ตรวจสอบอ่างน้ำมันเครื่องกรองอากาศ ถ้ามีระดับฝุ่นผงมากให้ถ่ายออก ทำความสะอาดและใส่น้ำมันใหม่เข้าไปให้ได้ระดับเดิม
6. ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์ โดยรถแทรกเตอร์จะต้องจอดในที่เรียบและดับ เครื่องยนต์ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว เพื่อให้น้ำมันหล่อลื่นไกลกับอ่างเก็บน้ำมัน จากนั้นให้ดึงก้านวัดระดับน้ำมันหล่อลื่นทำความสะอาดด้วยผ้า และใส่ก้านวัดระดับน้ำมันหล่อลื่นกลับเข้าไปให้สุด ดึงก้านวัดออกมาตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น ถ้าระดับน้ำมันหล่อลื่นอยู่ต่ำกว่าขีดล่าง ให้เติมด้วยน้ำมันหล่อลื่นชนิดเดียวกับน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้อยู่

7. ตรวจสอบระดับน้ำระบายความร้อนของเครื่องยนต์ ควรตรวจสอบขณะที่เครื่องยนต์ไม่ร้อน เปิดฝา หม้อน้ำระบายความร้อน ตรวจสอบระดับของน้ำ ระดับของน้ำควรจะอยู่ต่างจากคอของหม้อน้ำประมาณครึ่งนิ้ว ถึง 2 นิ้ว (13 มม. – 51 มม.) ไม่ควรเติมน้ำระบายความร้อนให้มีระดับสูงเกินไป เพราะน้ำจะขยายตัวเมื่อมีอุณหภูมิสูง
8. อัดจาระบี เพื่อหล่อลื่นลูกปืนและเพลา ใช้จาระบีชนิดที่บริษัทกำหนด และเป็นจาระบีที่มีความสะอาด ทำความสะอาดหัวอัดจาระบี ก่อนทำการอัดจาระบี ห้ามอัดจาระบีมากเกินไป เพราะจาระบีส่วนเกินจะวิ่งลงสู่ส่วนอื่น ๆ ได้ เช่น สายพาน ผ้าเบรก
9. ตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ รอบ ๆ รถแทรกเตอร์และจักรกลการเกษตร เช่น ชิ้นส่วนที่หลวมและเสียหาย แป้นและคันบังคับต่าง การรั่วซึมของน้ำ สายพาน ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงและระบบไฮดรอลิก เป็นต้น
10. ควรบำรุงรักษาตามชั่วโมงการใช้งาน โดยทั่วไปรถแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลการเกษตรจะต้องมีการบำรุงรักษามากกว่าการบำรุงรักษาประจำวัน ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ชั่วโมงของการใช้งานเป็นตัวกำหนด โดยผู้ใช้ควรศึกษาคู่มือการใช้รถแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลการเกษตรนั้น ๆ อย่างละเอียด
สรุป
เครื่องจักรกลการเกษตร Agricultural Machinery เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมแห่งการทำงานเกษตรอย่างแท้จริง เพื่อปลูก เก็บเกี่ยวผลผลิตให้ทันท่วงที เพื่อสร้างรายได้ และการขยายธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรให้ดีขึ้น และยั่งยืนมากขึ้น